สถิตยศาสตร์ (Statics )


Statics เป็นแขนงวิชาทางกลศาสตร์ของวัตถุ แข็งเกร็ง (Rigid body) ที่วิเคราะห์แรง และแก้ปัญหา ของระบบแรงท่ กระทำต่อวัตถุหนึ่งๆ ภายใต้ สภาวะ สมดุล โดย เน้นการศึกษาสมดุลของแรงที่กระทำต่อ วัตถุ โดยที่วัตถุนั้นไม่มี การเคลื่อนที่








หลักการในสถิตยศาสตร์วิศวกรรม

ก) หลักการพื้นฐาน 5 ข้อ

1. กฎการรวมแรง
      คำบรรยาย: แรง 2 แรงที่กระทำต่ออนุภาคเดียวกันสามารถแทนด้วยแรงลัพท์แรงเดียว ด้วยการลากเส้นทแยงของสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้งสองเท่ากับแรงทั้งสอง
      แผนภาพ:
                          

     

      คณิตศาสตร์: เมื่อกำหนดแรงทั้งสอง ถ้าเขียนเวกเตอร์ของแรงทั้งสองต่อกัน แรงลัพท์คือเวกเตอร์ R  ขนาดของ R หาได้จากกฎของ cosine

กฎข้อย่อยการแตกแรง: เราสามารถแตกแรง F ใดๆ(ทำมุม α กับแนว x) ให้เป็นแรงประกอบในแนว x และแนว n (ทำมุม θ กับแนว x) ด้วยการให้  F เป็นเส้นทแยงมุมแล้วเขียนสี่เหลี่ยมด้านขนาน

แผนภาพ

คณิตศาสตร์: เมื่อกำหนดแรง F (ทำมุม α กับแนว x) และแนว x และแนว n (ทำมุม θ กับแนว x)  แล้วเขียนสี่เหลี่ยมด้านขนาน  สามารถหาด้านทั้งสองด้วยกฎของ sines

                                          F/sin(180 – θ) = Fx /sin(180- θ- α) = Fn /sin α

 2. กฎการย้ายแรง
      คำบรรยาย: เราสามารถแทนแรงที่กระทำที่จุดหนึ่งบนวัตถุเกร็งด้วยแรงขนาดและทิศทางเดียวกันกระทำที่อีกจุดหนึ่ง โดยที่จุดทั้งสองต้องอยู่บนแนวแรง
      แผนภาพ :

กฎข้อนี้ช่วยให้คำนวณโมเมนต์ของแรงได้ง่าย 


3. กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน
      คำบรรยาย : วัตถุสองก้อนซึ่งมีมวล m1 และ m2 จะดึงดูดกันและกันด้วยแรงที่เท่ากันซึ่งมีขนาด


                                                         F = G m1 m2/ r2

      แผนภาพ:


คณิตศาสตร์:                                          F = G m1 m2/ r2



4. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน (ใช้กับสถิตยศาสตร์)
      คำบรรยาย: ถ้าแรงลัพท์ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ วัตถุย่อมอยู่นิ่ง
      แผนภาพ:


คณิตศาสตร์  :      ถ้าอนุภาคอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่  (ความเร่ง  = 0)
                  


5.           กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน
      คำบรรยาย : แรงกระทำและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุที่แตะกัน ย่อมมีขนาดเท่ากัน อยู่ในแนวเดียวกัน และมีทิศตรงกันข้าม
      แผนภาพ :  



คณิตศาสตร์:                                          A = B

ข) สมดุลของอนุภาค

      คำบรรยาย  :  ถ้าอนุภาคก้อนหนึ่งถูกแรงกระทำหลายแรงแล้วอยู่นิ่ง ผลรวมของแรงทุกแรงย่อมเท่ากับศูนย์
      แผนภาพ  :

ถ้าอนุภาคอยู่นิ่ง แสดงว่า


ต้องเขียนได้เป็นรูปหลายเหลี่ยมปิด

คณิตศาสตร์        ถ้าอนุภาคอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่  (ความเร่ง  = 0)
                  





ค) สมดุลของวัตถุเกร็ง

      คำบรรยาย  ถ้าวัตถุเกร็งชิ้นหนึ่งถูกแรงและแรงคู่ควบ จำนวนหนึ่งกระทำแล้วอยู่นิ่ง ผลรวมของแรงทุกแรงย่อมเท่ากับศูนย์ และผลรวมของโมเมนต์ของแรง และแรงคู่ควบรอบจุดใดจุดหนึ่งย่อมเท่ากับศูนย์

      แผนภาพ  :

ถ้าวัตถุอยู่นิ่ง แสดงว่า
1. เขียนแรงทั้งหมดเป็นรูปหลายเหลี่ยมปิดได้
                      


2.



คณิตศาสตร์  : 
      ถ้าวัตถุอยู่นิ่ง

(โมเมนต์มีเพียงโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา)



สมดุลของวัตถุที่ถูกแรงกระทำ 3 จุด

      คำบรรยาย  :  เมื่อวัตถุเกร็งใดๆ ถูกแรงกระทำที่ 3 จุด จะสามารถทอนให้เหลือ 3 แรง ถ้าวัตถุอยู่นิ่ง ผลรวมของแรงทั้งสามย่อมเท่ากับศูนย์ และผลรวมของโมเมนต์ของแรงทั้งสามย่อมเท่ากับศูนย์
     
 เงื่อนไขข้อหลังสามารถทอนให้เหลือแนวแรงทั้งสามต้องตัดกันที่จุดเดียว ซึ่งจะทำให้หาแนวแรงของแรงที่ไม่รู้ค่า จากนั้น จะใช้เงื่อนไขแรกในการหาขนาดของแรงที่ไม่รู้ค่า






      แผนภาพ  :

                    

                                             กำหนด  W  , q  , a
                                                    จงหา   T  ,  Ax  ,  Ay    



                              


คณิตศาสตร์  :
      ลากแนวแรง  W   ให้ตัดกับแนวแรง  T ที่จุด  P แนวแรง  R ( = Ax + Ay )ต้องผ่านจุด   P   แล้ววัดมุม        



7247866808